วันที่ 5 เมษายน 2565 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดงาน THAMMASAT EECmd Vision “Now and Next” ขับเคลื่อน “เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร ธรรมศาสตร์พัทยา” (EECmd) โดยมีการลงนาม ความร่วมมือ (MOU) กับองค์กรด้านการแพทย์และวิศวกรรมกลุ่ม Health Tech ชั้นนำ ทั้งจากภาครัฐและเอกชนจำนวน 25 หน่วยงาน ภายในงานยังจัดแสดงศักยภาพทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสุขภาพล้ำสมัย ณ อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า โครงการ EECmd เป็นหนึ่งในวิสัยทัศน์ของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล นวัตกรรม องค์ความรู้ทางด้านการแพทย์และสุขภาพ ภายใต้จุดมุ่ง หมาย “Better Future Beyond Boundaries” พร้อมก้าวข้ามพรมแดนแห่งความเป็นสถาบันอุดมศึกษา มุ่งสู่เข็มทิศใหม่ ในการพัฒนาประเทศและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ผลักดัน EECmd บนพื้นที่ 585 ไร่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา สู่การเป็น ศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร สมาร์ทซิตี้ และสมาร์ทแคมปัส
“การลงนาม MOU กับองค์กรพันธมิตรทั้ง 25 หน่วยงานวันนี้ เป็นความร่วมมือสำคัญที่ส่งสัญญาณว่า EECmd มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา พร้อมแล้วที่จะเปิดรับข้อเสนอการลงทุนจากทั้งในและต่างประเทศ นำไปสู่การต่อยอด การพัฒนา ศึกษาวิจัย นวัตกรรมการแพทย์มิติใหม่ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทย การให้บริการ Wellness, โรงพยาบาลธรรมศาสตร์พัทยาแห่งใหม่ หรือ Digital Hospital, การส่งเสริมธุรกิจ Healthcare , Health Tech , กลุ่ม สตาร์ทอัพและอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต เราพร้อมก้าวสู่ Medical Valley ต้นแบบความภาคภูมิใจของประเทศไทย เช่นเดียวกับมหานครชั้นนำระดับโลก”
รศ.นพ.กัมมาล กุมาร ปาวา รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ศูนย์พัทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การดำเนินโครงการ EECmd มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา จัดแบ่งพื้นที่เป็น 4 โซนหลัก ได้แก่ ด้านการศึกษา ด้านส่งเสริมเศรษฐกิจ ด้านบริการ และด้านที่พักอาศัย ภายในพื้นที่มีแผนการพัฒนาโครงสร้างต่างๆมากมาย อาทิ สถาบันวิจัยการแพทย์ชั้นสูง, โรงพยาบาล ดิจิทัล, ศูนย์ดูแลสุขภาพ (Wellness Health Resort), ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ (Senior Living) และ ศูนย์กีฬาขนาดใหญ่ (Sport Complex) เชื่อมต่อการลงทุนกลุ่ม Health Tech ชั้นนำระดับโลก
ซึ่งขณะนี้มีผู้สนใจได้ติดต่อเข้ามาเป็นจำนวนมาก นักลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นเวลา 11-13 ปี และการนำเข้าผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาพักอาศัยอยู่ใน ประเทศไทย เป็นต้น โดยมีสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.)ร่วมสนับสนุน พร้อมด้วยองค์กรพันธมิตรด้านสาธารณสุขที่มองเห็นศักยภาพและโอกาสใหม่ๆมุ่งสู่เป้าหมายของการเป็น Medical Hub ในภูมิภาคและ สร้าง Medical Valley ให้เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
น.ส.อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า โครงการ EECmd มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่มีการผลักดัน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อเป็นกลไก ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต ในการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และ Thailand 4.0 ของรัฐบาล เห็นได้ชัดเจนว่าอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต หรือ New Engine of Growth มีแผนยุทธศาสตร์ในการผลักดัน เพื่อสร้างความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจในภูมิภาค ยกระดับ การให้บริการด้านสุขภาพและด้านสาธารณสุข พัฒนาบุคลากรและมาตรฐานเพื่อก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการให้บริการเป็นที่ ยอมรับในระดับสากล การดำเนินงาน Medical Hub ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญต่อการสนองตอบ ต่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13
“กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมสนับสนุนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และพันธมิตร EECmd ทั้ง 25 องค์กร ขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจเพื่อดึงดูด การลงทุนจากต่างประเทศ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ แผนปฏิบัติราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมระยะ 5 ปี สร้างสังคมแห่งอนาคต พัฒนาระบบนิเวศน์ที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ การวิจัยค้นคว้าและต่อยอดเทคโนโลยีทางการแพทย์ นำ ระบบดิจิทัลมาสนับสนุนบริการทางสุขภาพ สู่เป้าหมายเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมได้อย่างแท้จริง”
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กล่าวว่า พื้นที่ EECmd มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา เป็นหนึ่งในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC ที่มีศักยภาพสูง ในการ ยกระดับประเทศไทยไปสู่ ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ ขับเคลื่อนนวัตกรรมธุรกิจ Health and Wellbeing ซึ่งถือเป็น 1 ใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายของ EEC สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการผลักดันประเทศไทยเป็น Medical Hub
ดังนั้น EECmd จัดเป็นพื้นที่รองรับการลงทุนที่สมบูรณ์แบบ น่าสนใจ มีความพร้อม ด้านสาธารณูปโภค และ โครงสร้างพื้นฐาน ซึ่ง EEC ได้ผลักดันให้เกิดการลงทุนกว่า 2.2 ล้านล้านบาท ในพื้นที่ภาคตะวันออก อาทิ รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน, สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา การขยายท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ฯลฯ ดังนั้น การลงนาม MOU ครั้งนี้ จึงเป็นการหลอมรวมพลังและบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทุกมิติ เพื่อสร้างเม็ดเงินลงทุนใหม่หมุนเวียนสู่เศรษฐกิจการถ่ายทอดเทคโนโลยีการต่อยอดผลิตภัณฑ์และใช้บริการของชาวต่างชาติได้ในอนาคต